เพจเลี่ยงเชียง เพจธรรมะ ธรรมทาน เพจสร้างบุญ Line@MAKEBOON || makeboon2018@gmail.com
วันลอยกระทง จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน12 ตามปฏิทินจันทรคติของชาวไทย ในทุกๆ ปี
ประชาชนชาวไทยเชื่อว่าวันนี้เป็นวันแห่งการขอขมา วันแห่งการบูชาพระแม่คงคา วันแห่งการสะเดาะเคราะห์ วันแห่งการลอยทุกข์ลอยโศกให้พ้นไป ที่สำคัญยังเชื่อว่าวันนี้เป็นวันบูชารอยพระพุทธบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
กระทง ตามความหมายในหนังสือพจนานุกรมไทย (พิมพ์ครั้งที่23, มานิต มานิตเจริญ) น. 26 ให้ความหมายว่า
"กระทง น. กระทงความ, กระทงจีวร, กระทงนา, กระทงเรือ; ภาชนะที่ใส่ของลอยน้ำในพิธีลอยกระทงเพ็ญเดือนสิบสอง; ภาชนะที่เย็บด้วยใบตองหรือกระดาษสำหรับใส่ของ"
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช, ป.ธ.9,ราชบัณฑิต) บันทึกไว้ในหนังสือพจนานุกรมไทย-บาลี น. 12 ว่า
"กระทง น. วฎํสก. ปตฺตภาชนะ., กทลีปตฺตภาชน.,"
ตามความเชื่อว่าวันนี้เป็นวันแห่งบุญ ดังนั้นจึงมีกิจกรรมที่นิยมทำกันมากมายดังนี้
1) ชาวไทยพุทธนิยมเข้าวัดทำบุญ ถือโอกาสรวมญาติ พากันไปวัดทำบุญ ปฏิบัติธรรม ฟังพระเทศน์ สวดมนต์ นั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ
2) จัดขบวนแห่งกระทงประจำปี หรือมีงานประกวดกระทง แข่งขันสวยงาม
3) กิจกรรมปล่อยโคมลอย ซึ่งยังถือว่าพอมีให้พบเห็นอยู่บ้างเกี่ยวกับการปล่อยโคมลอย
เพราะการจะปล่อยโคมได้นั้น ต้องจัดในพื้นที่โล่งแจ้ง มีลม และที่สำคัญคือความปลอดภัยเป็นหลัก เพื่อป้องกันความเสียหายจะเกิดขึ้นหลังปล่อยโคม4) กิจกรรมประกวดนางนพมาศ กิจกรรมนี้มีเกิดขึ้นบางแห่ง เพื่อสร้างความสนุกสนาน บันเทิง เป็นสีสันส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้กับนักท่องเที่ยวที่มาร่วมงาน
(เครดิตจาก https://www.sanook.com/horoscope/218801/)
บทขมาแม่น้ำคง ว่า
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
อุกาสะ ขะมามิ ภันเต.ข้าแต่คงคา ลูกขอวันทา ด้วยประทีปกระทง พระแม่คงคา มีความเมตตา ต่อลูกสูงส่ง คือน้ำในกาย สามส่วนมั่นคง กายจึงยืนยง ชุ่มชื่นยืนนาน พระแม่คงคา กำเนิดจากฟ้า โปรยปรายลงมา เป็นกระแสธาร เกิดเป็นแม่น้ำ หลายนามขนาน ปิง, วัง, ยม, น่าน คือเจ้าพระยา ท่าจีน, ตาปี นครชัยศรี โขง, ชี, มูล, ละหาร ห้วยหนองคลองบึง จนถึงแก่งกว๊าน น้ำใต้บาดาล อีกทั้งประปา
ลูกลูกทั้งหลาย เดินทางขายค้า สำเร็จกิจจา คมนาคม นำมากินใช้ ได้ดั่งอารมณ์ ยามร้อนประพรม ชุ่มชื่นกายใจ ชำระมลทิน โสโครกทั้งสิ้น สะอาดสดใส ผุดผ่องพราวตา แลเลิศวิไล แม่น้ำรับไว้ สกปรกโสมม น้ำเสียเรือนชาน ซักผ้าล้างจาน เททิ้งทับถม ไหลลงคงคา ธาราระทม สารพิษสะสม เน่าคลุ้งฟุ้งไป วันนี้วันเพ็ญ พระจันทร์ลอยเด่น เป็นศุภสมัย
ลูกจัดกระทง ประสงค์จงใจ นำมากราบไหว้ พระแม่คงคา เทวาทรงฤทธิ์ ซึ่งสิงสถิต ทุกสายธารา ทั้งผีพรายน้ำ อย่าซ้ำโกรธา ลูกขอขมา อโหสิกรรม ทำกิจใดใด อุทกภัย อย่าได้เติมซ้ำ อย่าพบวิบัติ ข้องขัดระกำ อย่าให้ชอกช้ำ น้ำท่วมพสุธา อย่าให้สินทรัพย์ ต้องพลันย่อยยับ เพราะสายธารา อย่าให้ชีวิต ต้องปลิดชีวา พระแม่คงคา รับขมาลูก เทอญ
คำอธิษฐาน ว่า
มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง
มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ,
อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ.ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทรายในแม่น้ำชื่อนัมมทานทีโน้น ด้วยประทีปนี้ กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
ภายในประกอบไปด้วยบทสวดมนต์ดังนี้
➧ บทบูชาพระรัตนตรัย
➧ บทกราบพระรัตนตรัย
➧ คำอาราธนาศิล
➧ คำสมาทานศีล
➧ บทขุมนุมเทวดา
➧ บทนมัสการพระพุทธเจ้า
➧ บทไตรสรณคมน์
➧ บทสัมพุทเธ
➧ บทมงคลสูตร
➧ บทรตนปริตร (ย่อ)
➧ บทกรณียเมตตสูตร (ย่อ)
➧ บทอภัยปริตร
➧ บทอาฏานาฏิยปริตร (ย่อ)
➧ บทโพชฌังคปริตร
➧ บทรัตนโอสถ
➧ บทอุณหิสสวิชัย
➧ บทพุทธบารมี
➧ บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
➧ พระคาถาชินบัญชร
➧ บทบารมื ๓๐ ทัศ
➧ บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
➧ บทพระพุทธเจ้าชนะมาร (พาหุง)
➧ บทชยปริตร (มหากา)
➧ บทเทวตาอุยโยชนคาถา
➧ บทสัพพมงคลคาถา
➧ ทำสมาธิก่อนแผ่เมตตา
➧ คำแผ่เมตตาให้ตนเอง
➧ คำแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
➧ คำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
➧ คำอธิษฐานอโหลิกรรม
➧ คำอุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร
#25/11/2566