เพจเลี่ยงเชียง เพจธรรมะ ธรรมทาน เพจสร้างบุญ Line@MAKEBOON || makeboon2018@gmail.com
ช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงเทศกาลทำบุญกฐิน ดังนั้น แอดขอนำความรู้เกี่ยวกับ "กฐิน" มาฝากกันเล็กๆ น้อยๆ เติมเต็ม "ปัญญาบารมี" ไปด้วยกันนะครับ
ต่อไปเรามาดูแต่คำศัพท์กันครับ
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ท่านได้อธิบายไว้ในหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ปี พ.ศ.2546 น. 1 หมวด ก ไว้เกี่ยวกับ "กฐิน" ว่า
กฐิน ตามศัพท์แปลว่า "ไม้สะดึง" คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร
เรื่องเขตกฐินนี้ ท่านก็ได้อธิบายไว้ว่า "สงฆ์ผู้ผู้ประกอบกฐินกรรม ต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป,
ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง 1 เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา
เรียกว่า "เขตกฐิน" คือตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
ภิกษุผู้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ 5 ประการ
คำถวายผ้ากฐินแบบสั้นว่า
"อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ."
แปลว่า "ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์"
โดยให้ว่าครบ 3 จบ
แบบยาวว่า
"อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ
สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ
ปะฏิคคะเหตวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ."แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้ แก้พระสงฆ์
ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้
เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ"
กฐินทาน แปลว่า การทอดกฐิน การถวายผ้ากฐิน คือ การที่คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเณร นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์
ผู้จำพรรษาแล้ว ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้ากฐิน เรียกสามัญว่า "ทอดกฐิน"
กรานกฐิน เป็นคำกริยา คือการขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรขึงทีึ่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้ว บอกแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เข้าร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์ เพื่ออนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า "ผู้กราน"คำว่า "กราน" เป็นภาษาเขมร แปลว่า "ขึง" คือทำให้ตึง
คำว่า "กฐิน" เป็นภาษาบาลี แปลว่า "ไม้สะดึง"
คำว่า "กรานกฐิน" จึงแปลว่า "ขึงไม้สะดึง"
ข้อมูลจากหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ปี พ.ศ.2546