เนื้อหาบทความ

"พุทฺธาภิถุติ" แปลบทสวดมนต์บาลี-ไทย แบบยกศัพท์ ครั้งที่3

วันนี้มาเรียนรู้การแปลบาลีแบบยกศัพท์ (คำต่อคำ) กันต่อ ในบท "พุทฺธาภิถุติ" บทชมเชยพระพุทธคุณ ดังนี้

พุทฺธาภิถุติ  (พุทฺธ+อภิถุติ)

โย  โส  ตถาคโต
อรหํ,  สมฺมาสมฺพุทฺโธ,
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน 
สุคโต , โลกวิทู,
อนุตฺตโร  ปุริสทมฺมสารถิ,
สตฺถา  เทวมนุสฺสานํ,
พุทฺโธ,  ภควา ฯ

 

โย  อิมํ  โลกํ  สเทวกํ  สมารกํ  สพฺรหฺมกํ
สสฺสมณพฺราหฺมณึ  ปชํ  สเทวมนุสฺสํ 
สยํ  อภิญฺญา  สจฺฉิกตฺวา  ปเวเทสิ ฯ

โย  ธมฺมํ  เทเสสิ 
อาทิกลฺยาณํ  มชฺเฌกลฺยาณํ  ปริโยสานกลฺยาณํ ฯ

สาตฺถํ  สพฺยญฺชนํ  เกวลปริปุณฺณํ  ปริสุทฺธํ 
พฺรหฺมจริยํ  ปกาเสสิ  ฯ

ตมหํ  ภควนฺตํ  อภิปูชยามิ  ฯ

ตมหํ  ภควนฺตํ  สิรสา  นมามิ ฯ

แปลยกศัพท์

ตถาคโต  อ.พระตถาคตเจ้า

โส  พระองค์นั้น

โย  พระองค์ใด

อรหํ  เป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส

สมฺมาสมฺพุทฺโธ  เป็นผู้ตรัสชอบด้วยพระองค์เองแล้ว

สุคโต  เป็นผู้เสด็จไปแล้วด้วยดี

โลกวิทู  เป็นผู้ทรงรู้แจ้งโลก

ปุริสทมฺมสารถิ  เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษผู้สมควรฝึกได้

อนุตฺตโร  เป็นผู้ไม่มีใครยอดเยี่ยมกว่า

สตฺถา  เป็นครูผู้สอนสั่ง

เทวมนุสฺสานํ  ของเทวดาและมนุษย์ ท.

พุทฺโธ  เป็นผู้ตรัสรู้แล้ว

ภควา  เป็นผู้มีความจำเริญจำแนก

โหติ  ย่อมเป็น ฯ

 

ตถาคโต  อ.พระตถาคต

โย  พระองค์ใด

เทเสสิ  ทรงแสดงแล้ว

สจฺฉิกตฺวา  ทรงกระทำให้แจ่มแจ้งแล้ว

สยํ  ด้วยพระองค์เอง

อภิญฺญา  เพราะอภิญญา (ความรู้อย่างยวดยิ่ง)

โลกํ  ยังชาวโลก

อิมํ  นี้

สเทวกํ  อันเป็นไปกับด้วยเทวดา

สมารกํ  อันเป็นไปกับด้วยมาร

สพฺรหฺมกํ  อันเป็นไปกับด้วยพรหม

ปชํ  ยังหมู่ประชา

สสฺสมณพฺราหฺมณึ  อันเป็นกับด้วยสมณะและพราหมณ์

สเทวมนุสฺสํ  อันเป็นไปกับด้วยเทพและมนุษย์

ปเวเทสิ  ให้รู้ทั่วแล้ว  ฯ

 

ตถาคโต  อ.พระตถาคต

โย  พระองค์ใด

เทเสสิ  ทรงแสดงแล้ว

ธมฺมํ  ซึ่งพระธรรม

อาทิกลฺยาณํ  อันงดงามในเบื้องต้น

มชฺเฌกลฺยาณํ  อันงดงามในท่ามกลาง

ปริโยสานกลฺยาณํ  อันงดงามในที่สุด ฯ

 

ตถาคโต  อ.พระตถาคต

โย  พระองค์ใด

ปกาเสสิ  ทรงประกาศแล้ว

พฺรหฺมจริยํ  ซึ่งพรหมจรรย์

สาตฺถํ  อันเป็นไปกับด้วยประโยชน์

สพฺยญฺชนํ  อันเป็นไปกับด้วยพยัญชนะ

เกวลปริปุณฺณํ  อันบริบูรณ์สิ้นเชิงแล้ว

ปริสุทฺธํ อันบริสุทธิ์แล้ว  ฯ

 

อหํ  อ.ข้าพเจ้า

อภิปูชยามิ  ย่อมบูชาอย่างยวดยิ่ง

ตถาคตํ  ซึ่งพระตถาคต

ภควนฺตํ  ผู้มีความจำเริญจำแนก

ตํ  พระองค์นั้น  ฯ

 

อหํ  อ.ข้าพเจ้า

นมามิ  ย่อมนอบน้อม

ตถาคตํ  ซึ่งพระตถาคต

ภควนฺตํ  ผู้มีความจำเริญจำแนก

ตํ  พระองค์นั้น

สิรสา  ด้วยเศียรเกล้า  ฯ

สาระเสริม

1. โครงสร้างประโยคการแปลนี้  คือ  สังกรประโยค  ( ย และ ต )  โดยท่อนประโยค   ตัวประธานคือ  โย  โส  ตถาคโต  ฯ   
    ดังนั้น  ประโยครับ  ต  จึงต้องใช้  ตถาคต  ศัพท์มารับเช่นกัน จึงจะเห็นว่า "ทำไม ? ผู้แปลถึงแปลว่า  
    อหํ  อ.ข้าพเจ้า อภิปูชยามิ  ย่อมบูชาอย่างยวดยิ่ง ตถาคตํ  ซึ่งพระตถาคต ภควนฺตํ  ผู้มีความจำเริญจำแนก ตํ  พระองค์นั้น
    โดยให้  ตํ  และ ภควนฺตํ  เป็นวิเสสนะ ของ ตถาคตํ  ก็เพื่อจะนำมารับประโยค    นั่นเอง **

2. ตรงคำว่า "สยํ  อภิญฺญา  สจฺฉิกตฺวา " แปลว่า ทรงกระทำให้แจ่มแจ้งแล้ว  ด้วยอภิญญา (พระปัญญาอันยิ่ง) 
    มีความกังขาคำว่า "อภิญฺญา ซึ่งเป็น อา การันต์ อิตถีลิงค์ มีวิธีการแจกรูปวิภัตติตาม กญฺญา 
    หากจะแปลว่า "ด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ, มี" ก็ต้องเป็นตติยาวิภัตติ คือ อภิญฺญาย จึงจะถูกต้อง
    แต่ในบทสวดมนต์กลับเป็น  อภิญฺญา  น่าจะคลาดเคลื่อนหรือประสงค์อื่นใดหรือไม่ ? ก็มิทราบได้
    โดยส่วนตัวผู้เขียนขอยึดตามแบบแจก  กญฺญา  ตามหลักไวยากรณ์เป็นที่ตั้ง  จะเป็น  อภิญญาย 
    แปลว่า ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง, เพราะอภิญญา 
อย่างสนิทใจผู้แปล  ฯ  ส่วนคำว่า  "สยํ"  เป็นคำเติมเต็ม ฯ
    เมื่อเขียนใหม่จะกลายเป็น  "...  สยํ  อภิญฺญาย  สจฺฉิกตฺวา  ปเวเทสิ "


เขียนโดย วันนา มากมาย เมื่อ 16 มี.ค.2565