เนื้อหาบทความ

สุขภาพกายดี สุขภาพจิตก็ต้องดี

ความมีสุขภาพอนามัยในทางจิตดี  เป็นสิ่งสำคัญ ?

 

ท่านทั้งหลาย..........................

 

เกิดมาทั้งที  ไม่ได้เป็นมนุษย์เต็มที่ หรือไม่ได้รับประโยชน์จากการเป็นมนุษย์ให้เต็มที่

ไม่มีความสดชื่นเยือกเย็นจากความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่

เช่นนี้เรียกว่า "ปัญหาของการเป็นมนุษย์"

 

บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า ความเป็นมนุษย์นั้น คืออย่างไร ?

สมบูรณ์กันอย่างไร?  และไม่รู้ว่า "การทำให้ความเป็นมนุษย์สมบูรณ์นั่นแหละ คือ ศาสนา"

 

ถ้าเป็นมนุษย์  มันต้องมีค่าของความเป็นมนุษย์ คือ มีจิตใจสูงอยู่เหนือปัญหา

ถ้ายังมีชีวิตที่เต็มไปด้วยปัญหา  มีความทุกข์ทรมานอยู่แล้ว

ยังไม่เรียกว่า "มนุษย์ที่สมบูรณ์"

 

ปัญหาของความเป็นมนุษย์นั้น  แบ่งเป็น  ๒  ฝ่าย  คือ

ปัญหาทางกาย  กับ  ปัญหาทางจิตใจ

 

โรคทางจิตนั้น  เป็นเหมือนกับโรคที่รักษากันที่โรงพยาบาลโรคจิต

ส่วนโรคทางวิญญาณนั้น  ต้องรักษากันที่โรงพยาบาลของพระพุทธเจ้า  คือ  มีธรรมะ

 

โรคของมนุษย์นั้น  มี  3  ทาง  คือ

โรคทางกาย  โรคทางจิต  และ โรคทางวิญญาณ

 

ถ้าเราไม่มีโรคทั้งทางกาย  ทางจิต  ทางวิญญาณแล้ว

นี้เรียกว่า มีสุขภาพอนามัยเลิศที่สุด  เลิศที่สุด  สูงสุดที่มนุษย์จะเป็นไปได้

คือ  จะเป็นไปจนถึงขั้นพระอรหันต์ได้เลย

ถ้าไม่มีโรคทางกาย  ทางจิต  และทางวิญญาณ

 

คนสมัยนี้ไม่มีระบบวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาเหมือนอย่างคนสมัยก่อน

ลดบทบาทศาสนาที่มาอยู่ในรูปของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีลงไปมาก

 

ศาสนาที่อยู่ในวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียม  ประเพณีนั้น คุ้มครองได้มาก  คือ

ให้คนนั่นแหละ  มันถูกต้องอยู่ทางกาย  ทางจิต  ทางวิญญาณ  โดยไม่ได้รู้สึกตัว

เช่นนี้เรียกว่า อัตโนมัติ

 

เดี๋ยวนี้การศึกษาผิดเพี้ยนไม่สมบูรณ์  ไม่ได้สอนให้คนกลัวบาป  กลัวความชั่ว  เสียแล้ว

คำว่าบาปไม่มีความสำหรับคนสมัยนี้  คำว่าบุญก็ไม่มี

 

กายดี  ่จิตดี

จิตดี  มันก็นำกายได้ดียิ่งขึ้นไปกว่าเดิม

สติปัญญาเมื่อจิตดี  มันก็ทำอะไรได้มาก

มันก็นำจิตไปได้มาก  ช่วยได้มาก

มันเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกันเช่นนี้

ระหว่าง "กายดี"  กับ "จิตดี"

 

กายดี  ่จิตดี  ก็เพราะอาศัยอาหารที่ดีดี

อาหารฝ่ายร่างกาย  ก็คือข้าวปลาอาหาร

อาหารฝ่ายจิตและฝ่ายวิญญาณ  ก็คือพระธรรม

 

 


บันทึกสารธรรมจากการอ่านหนังสือสั้นๆ
อ้างอิงจากหนังสือเรื่อง "เคล็ดลับ สุขภาพจิตดี"  คำสอนโดยพุทธทาสภิกขุ
เรียบเรียงโดย กองบรรณาธิการบริษัทสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด