เนื้อหาบทความ

อีสาน คือส่วนหนึ่งของประเทศไทย ?

✎ ผู้เขียนได้อ่านหนังสือ "วัฒนธรรมอีสาน ESARN CULTURE"  หนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ "วัฒนธรรมอีสาน" วัฒนธรรม ก็คือ วิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งจัดว่าเป็นสมบัติของชุมชน
✓ หนังสือเล่มนี้รวบรวมและเรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์ อุดม บัวศรี ป.ธ.7, พธ.บ., พ.ม., M.A. (Philosophy)
✓ ISBN : 974-91592-5-X จัดพิมพ์โดย หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา เมื่อปี พ.ศ. 2546 ในราคาเล่มละ 220 บาท
✓ พิมพ์ครั้งแรกจำนวน 1,000 เล่ม ซึ่งบริษัท ขอนแก่น คลังนานาธรรม จำกัด เป็นผู้พิมพ์จำหน่าย
 


❤️ ความสนใจที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้มีเยอะมากๆ ดังนั้น จะทะยอยนำมาลงทีละน้อย
❤️ คัดเฉพาะสิ่งที่ชอบและเห็นว่ามีประโยชน์ คงไม่ลงหมดนะครับ
❤️ หากอยากอ่านทั้งเล่มก็ต้องไปซื้อหนังสือมาเก็บไว้ส่วนแล้วละทีนี้


▶ คำว่า "อีสาน" มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า "อีศาน"
มีความหมายตรงกันว่า "ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ" หรือ "พระศีว" หรือ "พระรุทร"
(ราชบัณฑิตยสถาน : 2493:1033) น. 1


★ คนอีสานส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในชนบทดั่งเดิมนั้น ยังมีความเชื่อถือหนักไปทางศาสนาผสมกับความลึกลับทางไสยศาสตร์
ดังนั้น พิธีกรรมของคนอีสาน จึงหลากหลายผสมกันระหว่างแบบพุทธ พราหมณ์ ผี เจ้า เทพ ผีปอบ ผีฟ้า ผีแถน ผีปู่ย่าตายาย เป็นต้น

สมัยก่อนนั้นการเป็นอยู่จะเป็น "แบบสัมพันธ์ฉันพี่น้อง" แต่ปัจจุบันวัยรุ่นได้เข้ามาทำงานเมืองกรุง ทำให้ย้ายถิ่นฐาน เรียนรู้ความเจริญสมัยใหม่มากขึ้น
จนทำให้วิถีชีวิต ความเชื่อ ความสัมพันธ์แบบเก่า ค่อยๆจางหายไปทีละน้อย จนบางทีจะเห็นว่าเหมือนจะกลายเป็นคนเหินห่างกัน ไร้น้ำใจต่อกันไป
แม้จะบ้านเรือนติดกันก็กลับไม่ทักทายปราศรัยกัน เพราะติดกับค่านิยมของคนกรุงไปเสียแล้ว สิ่งนี้เป็นสิ่งที่น่าเสียดายและใจหายมากๆ
สมัยก่อนบ้านเรือนไหน มีอะไรกินกัน ก็นำมาแบ่งกัน แลกเปลี่ยนกันกินได้ ใครปลูกอะไรไว้ ก็ขอกันได้ หรือนำสิ่งที่มีของตัวเองเพื่อมาขอแลกก็ได้
ดังท่านสอนไว้ว่า "พริกอยู่เฮือนเหนือ เกลืออยู่เฮือนใต้ หัวสิไคอยู่เฮือนเพิ่น" เป็นต้น (น.8)


★ ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นในอีสาน มีดังนี้ (น.29)
→ งานบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร
→ งานแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี
→ งานไหลเฮือไฟ จ.นครพนม
งานแห่ปราสาทผึ้ง จ.สกลนคร
งานรวมเผ่าไทยภูพาน จ.มุกดาหาร
งานแข่งเรือ จ.หนองคาย และ จ.นครราชสีมา
งานกินข้าวปุ้นบุญผะเวส จ.ร้อยเอ็ด
งานช้าง จ.สุรินทร์


☯ ก่อนจากกันสำหรับบทความวันนี้ ขอฝากภาษิตอีสานแสดงถึง "ความเป็นชายและความเป็นหญิง" ไว้สั้น ๆ ดังนี้  (น.41)

✍ สำหรับผู้ชายว่า  "เป็นชายขอให้เป็นชายแท้ อย่าแกมแกหินแห่
ชายก็ชายแท้ๆ ตมนั้นอย่าป่น"


✍ สำหรับผู้หญิงว่า "หญิงขอให้เป็นหญิงแท้ อย่าเป็นหญิงตายเปล่า
ยิงก็ยิงแท้ๆ แนแล้วให้ค่อยยิง
อย่าได้ยิงเสียถิ่ม ยิงเสียดายเปล่า
ให้เอาหน่องแต้ม สาแล้วจึงค่อยยิง"


 


╔═════════ 🧡 ═════════╗
✌ พบกันใหม่บทความต่อไปนะครับ
ฝากกดแชร์ด้วยนะ ขอบคุณทุกกำลังใจครับ
#by นายวันน์
☞ ​​​​​​​4/5/2567