เนื้อหาบทความ

"วันจมกับวันฟู" คือวันอะไร? มีความหมายและสำคัญอย่างไร?

วันนี้ได้อ่านหนังสือตำรามรดกอีสาน โดยท่านอาจารย์สวิง บุญเจิม ป.ธ.9,M.A. 
แอดมีความสนใจเรื่อง "ฤกษ์-ยาม" ก็เลยได้ค้นหาหนังสือเกี่ยวกับด้านโหราศาสตร์มาศึกษา
และหัวข้อที่สนใจวันนี้คือ "วันจมวันฟู" มันคืออะไร? สำคัญอย่างไร? จะขอสรุปตามความเข้าใจที่ได้อ่านดังนี้นะครับ ⏰

สำหรับพวกเราชาวพุทธนั้น มีความเชื่อเรื่องกรรมและพิธีกรรมอยู่คู่กัน ดังนั้น ฤกษ์ยาม จึงมีส่วนสำคัญในเวลาจะทำกิจกรรมอะไรก็ตามสักครั้ง

💜 ความหมายและความแตกต่างของ "วันจม กับ วันฟู" คือ

➤ วันจม ก็คือวันที่ไม่ดี เป็นวันอวมงคล เพราะเชื่อว่าคนเราทำอะไรก็ตามในวันจม จะหมายถึง "ความล่มจม ความหายนะ" ดังนั้นจึงเรียกว่า "วันจม"

วันฟู ก็คือวันดี เป็นวันมงคล เหมาะสำหรับทำพิธีกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดสิริมงคล เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า จึงหมายถึง "วันฟู รุ่งเรือง ก้าวหน้า โชคดี มีชัย" ทำอะไรจึงให้ทำวันฟูเป็นสำคัญ

 

➜ สรุปออกเป็นตารางดังนี้

เดือน วันจม วันฟู
เดือนอ้าย หรือ เดือน 1 วันศุกร์ วันจันทร์
เดือนยี่ หรือ เดือน 2 วันเสาร์ วันอังคาร
เดือนสาม, เดือนแปด วันอาทิตย์ วันพุธ
เดือนสี่, เดือนเก้า วันจันทร์ วันพฤหัสบดี
เดือนห้า, เดือนสิบ วันอังคาร วันศุกร์
เดือนหก, เดือนสิบเอ็ด วันพุธ วันเสาร์
เดือนเจ็ด, เดือนสิบสอง วันพฤหัสบดี วันอาทิตย์

 

➜ ความหมายของ "วันอมุตโชค" คือวันที่เป็นมงคลอย่างยิ่ง มีความเชื่อว่าเมื่อเราเลือกทำพิธีวันฟูแล้ว หากอยากให้พิธีเกิดมงคลยิ่งๆ ขึ้นสูงสุด
ต้องเลือกวันที่ตรงกับ "วันอมุตโชค" นี้ด้วยเช่นกัน โดยยึดถือตามข้างขึ้น-ข้างแรมเป็นสำคัญ ดังตารางนี้ 

  อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์
ข้างขึ้น 8 ค่ำ 3 ค่ำ 9 ค่ำ 2 ค่ำ 4 ค่ำ 1 ค่ำ 5 ค่ำ
ข้างแรม 8 ค่ำ 3 ค่ำ 9 ค่ำ 2 ค่ำ 4 ค่ำ 1 ค่ำ 5 ค่ำ

 

นี่คือส่วนหนึ่งจากการดูฤกษ์ยาม หาช่วงเวลาอันเป็นมงคลขั้นพื้นฐานก่อน
หากผู้สนใจเกี่ยวกับด้านโหราศาสตร์ อยากหาคู่มือไว้ศึกษาก็ลองหาตำราพรหมชาติไว้คู่กายก็ดีนะครับ
หนังสือตำรามรดกอีสานก็ดีเช่นกัน เพราะเป็นหนังสือตำราโบราณที่ดียิ่งนักแล
วันนี้นำเสนอเกี่ยวกับ "วันจมวันฟู" เท่านี้ บทความต่อไปจะหาสาระดีดีมาฝากอีกนะครับ

#วันนา มากมาย #16/11/2566