เนื้อหาบทความ

มนต์พิธีพิเคราะห์ ตอน2 การแยกคำศัพท์ภาษาบาลีหน้า 3 ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เป็นต้นไป

บทสวดมนต์ยามเช้า ในหนังสือสวดมนต์ หน้าที่ 3 ที่ว่า

(นำ) หันทะ  มะยัง  ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย  เจวะ  สังเวคะปะริกิตตะนะ  ปาฐัญจะ  ภะณามะ  เส  ฯ

 

ทัศนคติ/ข้อคิดเห็น

  • ตรงคำว่า  " สังเวคะปะริกิตตะนะ  ปาฐัญจะ "  คำนี้เวลาเขียนแบบบาลีต้องเขียนติดกัน ห้ามแยก เพราะเป็นคำศัพท์เดียวกัน
  • คำบาลีว่า "สํเวคปริกิตฺตนปาฐญฺจ" แยกศัพท์คือ สํเวคปริกิตฺตนปาฐํ  จ
  • ศัพท์ที่น่าสนใจ คือ  สํเวค (ความสังเวช) + ปริกิตฺตน (การกำหนด) + ปาฐ (บาลี, การสวด) + จ (ด้วย,และ)
  • การเขียนแยกแบบด้านบน เข้าใจว่าเขียนเพื่อให้สวดได้ลงวรรคตอน ง่ายต่อการสวดหรือเปล่า? จึงทำให้ต้องแยกเช่นนั้น

 

สรุปต้องเขียนติดกันเพื่อให้ถูกไวยากรณ์ คือ

  • เขียนแบบภาษาไทย คือ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ
  • เขียนแบบบาลีไทย คือ สํเวคปริกิตฺตนปาฐญฺจ

 


บันทึก "มนต์พิธีพิเคราะห์" โดยวันนา มากมาย 20 พ.ค.2565