เนื้อหาบทความ

มนต์พิธีพิเคราะห์ ตอน4 ความสงสัยกับคำว่า "หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส."

จากหัวข้อบทนี้ ผู้เขียนเองมานั่งคิดวิเคราะห์ โดยยึดหลักสมมติฐาน 2 ข้อคือ

  • 1) ความนิยมของคนสวดเอง ที่นิยมสวดแบบนี้ตลอดมาตามศรัทธาความเชื่อ
  • 2) หลักภาษาบาลี โดยใช้ความรู้ด้านบาลีไวยากรณ์ เพื่อมาวิเคราะห์

ถามว่าแล้วมันผิดด้วยเหรอที่สวดแบบนี้มา จะได้บุญหรือไม่? คำตอบคือ ได้บุญตั้งแต่ผู้สวดมีความคิดจิตเป็นกุศลที่จะสวดมนต์ในเบื้องต้นแล้วขอรับ ส่วนบุญจะมากหรือน้อยก็ย่อมอยู่ที่องค์ประกอบอื่นๆ อีกต่อไปเช่นกัน
พูดง่ายๆ ก็คือ ได้บุญทั้งนั้น แต่ระดับบุญของใครก็ของใคร อยู่ที่จิตความตั้งใจแต่ละบุคคลนั่นเอง

 

ตรงนี้จะไม่ขอกล่าวถึงความนิยมของผู้สวดมนต์ แต่จะอธิบายตามหลักภาษาบาลี โดยยึดบาลีไวยากรณ์เป็น scope ในการนำเสนอแง่คิดต่อไป

 

คำว่า "พุทธานุสสะตินะยัง" ที่อยู่ในบทนำเต็มๆ ว่า "หันทะ  มะยัง  พุทธานุสสะตินะยัง  กะโรมะ  เส." หรือคำอื่นๆ ที่พบเห็น คือ

  • 1) พุทธานุสสะตินะยัง  (หน้า  10)
  • 2) ธัมมานุสสะตินะยัง  (หน้า  11)
  • 3) สังฆานุสสะตินะยัง  (หน้า 12)
  • 4) พุทธานุสสะตินะยัญจะ  (หน้า 10)

 

ทัศนคติ/ข้อคิดเห็น

  • 1) พุทธานุสสะตินะยัง  น่าจะเป็น  พุทธานุสสะติง  เพราะในเวลาแปลๆ ว่า "ซึ่งความตามระลึกถึงพระพุทธเจ้า"  มาจากคำว่า "พุทฺธา (พระพุทธเจ้า) + อนุสฺสติ (ความตามระลึกถึง)" ฯ 
        พุทฺธานุสฺสตึ  เป็นทุติยาวิภัตติ เอกวจนะ, มาจาก พุทฺธานุสฺสติ  เป็น  อิ  การันต์  อิตถีลิงค์ มีวิธีการแจกวิภัตติตาม รตฺติ (ราตรี) นั่นเอง
  • 2) หากจะใช้เป็น พุทธานุสสะตินะยัง  ก็ต้องแปลว่า "ซึ่งนัยแห่งความตามระลึกถึงพระพุทธเจ้า" เพราะจะมาจาก "พุทฺธ + อนุสฺสติ + นย"  ฯ 
        พุทฺธานุสฺสตินยํ  เป็นทุติยาวิภัตติ เอกวจนะ,  มาจาก พุทฺธานุสฺสตินย  เป็น  อ  การันต์  ปุงลิงค์  มีวิธีแจกวิภัตติ ตาม ปุริส (บุรุษ) นั่นเอง

 

สรุปคือ

  • 1) ต้องเขียนเป็น  พุทฺธานุสฺสตึ, ธมฺมานุสฺสตึ, สงฺฆานุสฺสตึ  ฯ  พุทธานุสสะติง, ธัมมานุสสะติง, สังฆานุสสะติง  ฯ  เพื่อให้ตรงกับคำแปลที่ใช้สวดมนต์ และ ถูกหลังภาษาบาลี
  • 2) ตรงหน้า 10 บทปุพพภาคนมการที่ว่า  ปุพพะภาคะนะมะการัญเจวะ  พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะ  เส.  ต้องเขียนเป็น  พุทธานุสสะติญจะ  กะโรมะ  เส. 
        สังเกตจากบทศัพท์หน้าเชื่อมกันด้วย    ศัพท์ และเป็นทุติยาวิภัตติเช่นเดียวกัน เพราะตามหลักการเชื่อม จ   ปิ  วา  ศัพท์นั้น 
        กลุ่มคำศัพท์ต้องมีสิ่งที่เหมือนกันคือ  1) เนื้อความเหมือนกัน  2) วิภัตติเหมือนกัน  3) วลีคล้ายกัน  ฯ 
        ในที่นี้เป็นศัพท์ที่มีวิภัตติเหมือนกันคือ ทุติยาวิภัตติ นั่นเอง  เพราะแปลว่า  "ซึ่ง.... "
        เพราะถ้าเป็น  พุทธานุสสะตินะยัญจ  ตัดเป็น  พุทธานุสสะตินะยัง  ก็จะกลายเป็นลง  นย  ซึ่งแปลว่า  "นัย หรือ นัยยะ"  สนธิกับ  จ  ศัพท์ 
        จึงกลายเป็น  พุทฺธานุสฺสตินยํ + จ  =  พุทฺธานุสฺสตินยฺจ  จัดเป็น อาเทส นิคคหิตสนธิ,  อาเทสนิคคหิตเป็น  ญฺ  นั่นเอง