ศัพท์บาลี

ตารางคำศัพท์ในระบบ ปัจจุบันมีจำนวน 621 คำ

No. คำบาลี ธาตุ คำแปล สาระเพิ่มเติม
1 อสิต ดำ, สีดำ, สีคล้ำ

- น สิโต อสิโต
ไม่ใช้สีขาว
(น+สิต, แปลง น เป็น อ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

2 อสิต อสุ เคียว, เครื่องเกี่ยวข้าว

- อสติ ลุนาติ เอเตนาติ อสิตํ
วัตถุเป็นเครื่องเกี่ยวข้าว
(อสุ ธาตุในความหมายว่าตัด ต ปัจจัย อิ อาคม)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

3 อสิ อส, สิ ดาบ, กระบี่, พระขรรค์

- อสฺสเต ขิปิยเตติ อสิ
ศัสตราอันเขาฟาดไป
(อส ธาตุในความหมายว่าซัด, ขว้าง อิ ปัจจัย)

- อา โกธวเสน เวริชนานํ มหาปราธชนานญฺจ สีสาทิกํ สยติ สมุจฺฉินฺทตีติ อสิ
ศัสตราที่ตัด คือบั่นศีรษะเป็นต้นของศัตรูและผู้มีความผิดมหันต์ด้วยอำนาจความโกรธยิ่ง
(อา บทหน้า สิ ธาตุ ในความหมายว่าตัด
อิ ปัจจัย, รัสสะ อา เป็น อ)

- อสติ สตฺเต วินาเสตีติ อสิ
ศัสตราที่ยังสัตว์ให้พินาศ
(อส ธาตุในความหมายว่าพินาศ อิ ปัจจัย)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

4 อสนิ, อสนี, อสุนี อส สายฟ้า, ฟ้าผ่า

- อสฺสเต ภุญฺชเต โลกธาตุกมเนน อายุเธนาติ อสนิ
อาวุธเป็นเครื่องปกครองโลกธาตุ
(อส ธาตุในความหมายว่ากิน คือปกครอง อนิ ปัจจัย)

- ภณฺฑนตฺถาย อสฺสเต ขิปิยเต เทเวหีติ อสนิ
อาวุธอันพวกเทวดาขว้างไปเพื่อทำลาย
(อส ธาตุในความหมายว่าซัด, ขว้าง อนิ ปัจจัย)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

5 อสน อส ประดู่

- อสติ ภกฺขตีติ อสโน
ต้นไม้ที่กินความรัก
(อส ธาตุในความหมายว่ากิน
ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

6 อสน อาหาร, ของกิน

- อสฺสติ ภกฺขิยตีติ อสนํ
สิ่งอันเขากิน
(อ ธาตุในความหมายว่ากิน
ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

7 อสน อส ลูกศร

- อสฺสเต ขิปิยเตติ อสนํ
ศัสตราอันเขาซัดไป
(อส ธาตุในความหมายว่าซัด, ขว้าง
ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

8 อสทฺธมฺม เมถุน, การร่วมประเวณี, การมีเพศสัมพันธ์

- อสตํ อสปฺปุริสานํ ธมฺโม อาจาโร อสทฺธมฺโม
พฤติกรรมของอสัตบุรุษ
(อสนฺต+ธมฺม, แปลง สนฺต เป็น ส, ซ้อน ทฺ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

9 อวฺหา เวฺห นาม, ชื่อ

- อวฺหยเต เอตายาติ อวฺหา
คำเป็นเครื่องใช้เรียก
(อา บทหน้า เวฺห ธาตุในความหมายว่าเรียก
อ ปัจจัย อา อิตฺ., รัสสะ อา เป็น อ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

10 อวฺหย เวฺห นาม, ชื่อ

- อวฺหยเตติ อวฺหโย
คำอันเขาเรียก
(อา บทหน้า เวฺห ธาตุในความหมายว่าเรียก
อ ปัจจัย, รัสสะ อา เป็น อ, แปลง เอ เป็น อย)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

11 อวีจิ อเวจี, อเวจีมหานรก

- ชาลานํ นิรนฺตรตาย อวีจิ
นรกที่มีเปลวไฟไม่ขาดสาย

- นตฺถิ สุขสฺสวีจิ เลโสปิ อตฺราติ อวีจิ
นรกเป็นที่ไม่มีคลื่นแห่งความสุขแม้แต่น้อย
(น+วีจิ, แปลง น เป็น อ)

- นตฺถิ วีจิ สุขํ เอตฺถาติ อวีจิ
นรกเป็นที่ไม่มีความสุข (น+วีจิ)

- อคฺคิชาลานํ วา ทุกฺขเวทนานํ วา สตฺตานํ วา นตฺถิ วีจิอนฺตรเมตฺถาติ อวีจิ
นรกเป็นที่ไม่มีความเว้นว่างแห่งคลื่นเปลวไฟทุกขเวทนา และสัตว์นรก
(น+วีจิ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

12 อวิหา ชห, หา พรหมชั้นอวิหา, พรหมโลกชั้นอวิหา

- อปฺปเกน กาเลน อตฺตโน ฐานํ น วิชหนฺตีติ อวิหา
ผู้ไม่ละฐานะของตนโดยกาลเล็กน้อย
(น+วิ บทหน้า ชห ธาตุในความหมายว่า ละ, สละ
กฺวิ ปัจจัย, แปลง น เป็น อ, ทีฆะสระหน้า ลบ ช และ กฺวิ)

- อตฺตโน อตฺตโน สมฺปตฺติยา น วิหายนฺตีติ อวิหา
ผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตนๆ
(น+วิ บทหน้า หา ธาตุในความหมายว่าเสื่อม อ ปัจจัย)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

13 อวิสารี สร เสียงที่ไม่แตกพร่า, ไม่สั่นเครือ

- พหิทฺธาปริสา องฺคุลิมตฺตมฺปิ น วิสรติ น คจฺฉตีติ อวิสารี
เสียงที่ไม่ซ่านไปจากภายนอกบริษัทแม้สักนิ้วเดียว
(น+วิ บทหน้า สร ธาตุในความหมายว่าไป
ณี ปัจจัย, แปลง น เป็น อ, พฤทธิ์ อ เป็น อา)

- น วิวิเธน สรตีติ อวิสารี
เสียงที่ไม่ไปโดยประการต่างๆ คือ ไม่แตกพร่าไป
(เหมือนวิ.ต้น)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

14 อวิลมฺพิต ลพิ ไม่ช้า, เร็ว, ด่วน, ทันที

- น วิลมฺพียติ น โอหียตีติ อวิลมฺพิตํ
ไม่ชักช้า
(น+วิ บทหน้า ลพิ ธาตุในความหมายว่าห้อยลง
ต ปัจจัย ลง อํ+อิ อาคม, แปลง น เป็น อ, นิคหิต เป็น มฺ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

15 อวิโรธน รุธ ความถูกต้อง, ความไม่ผิด

- น วิรุชฺฌตีติ อวิโรธนํ
ภาวะที่ไม่ผิด
(น+วิ บทหน้า รุธ ธาตุในความหมายว่าผิด, คลาดไป
ยุ ปัจจัย, แปลง น เป็น อ, พฤทธิ์ อุ เป็น โอ, แปลง ยุ เป็น อน)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

16 อวิรุทฺธ รุธ ไม่ผิด, ถูก

- น วิรุชฺฌตีิติ อวิรุทฺโธ
ภาวะที่ไม่ผิด
(น+วิ บทหน้า รุธ ธาตุในความหมายว่าผิด, คลาดไป
ต ปัจจัย, แปลง น เป็น อ, ต กับ ธ เป็น ทฺธ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

17 อวิรต รมุ เที่ยง, ทุกเมื่อ, เป็นนิจ

- น วิรมตีติ อวิรตํ
สิ่งที่ไม่เว้น
(น+วิ บทหน้า รมุ ธาตุในความหมายว่าเว้น
ต ปัจจัย, แปลง น เป็น อ, ลบที่สุดธาตุ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

18 อวิตถ จริง, แท้, แน่นอน

- นตฺถิ ตถํ สจฺจมตฺราติ วิตถํ, น วิตถํ อวิตถํ
คำที่ไม่มีความจริงหามิได้คือเป็นคำจริง
(น+วิตถ, แปลง น เป็น อ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

19 อวิชฺชา วิท, วินฺท, ชุ อวิชชา, ความไม่รู้, ความหลงไม่รู้จริง

- น วินฺทตีติ อวิชฺชา
ธรรมชาติที่ไม่รู้
(น บทหน้า วิท ธาตุในความหมายว่ารู้
ณฺย ปัจจัย อา อิตฺ., ลบ ณฺ, แปลง ทฺย เป็น ชฺช)

- อวินฺทิยํ กายทุจฺจริตาทึ วินฺทตีติ อวิชฺชา
ธรรมชาติที่ประสบสิ่งที่ไม่ควรประสบมีกายทุจริตเป็นต้น
(น บทหน้า วินฺท ธาตุในความหมายว่าได้, ประสบ
ณฺย ปัจจัย, ลบ นฺ และ ณฺ, แปลง ทฺย เป็น ชฺช)

- วินฺทิยํ กายสุจริตาทึ น วินฺทตีติ อวิชฺชา
ธรรมชาติที่ไม่ประสบสิ่งที่ควรประสบมีกายสุจริตเป็นต้น
(น+วินฺท+ณฺย, เหมือนวิ.ต้น)

- ธมฺมานํ อวิปรีตสภาวํ อวิทิตํ กโรตีติ อวิชฺชา
ธรรมชาติที่ทำความไม่รู้ถึงสภาวะที่ไม่วิปริตแห่งธรรม,
ธรรมชาติที่ไม่รู้แจ้งถึงสภาวะที่ไม่แจ้งชัดแห่งธรรม
(อ+วิท+ณฺย)

- อนฺตวิรหิเต สํสาเร ภวาทีสุ สตฺเต ชวาเปตีติ อวิชฺชา
ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้แล่นไปในภพเป็นต้นในสังสารวัฏที่ไม่มีที่สุด
(อ+วิ บทหน้า ชุ ธาตุในความหมายว่าแล่นไป
อ ปัจจัย อา อิตฺ, ซ้อน ชฺ, ลบสระหน้า)

- อวิชฺชมาเนสุ ชวติ วิชฺชมาเนสุปิ น ชวตีติ อวิชฺชา
ธรรมชาติที่แล่นไปในสิ่งที่ไม่มีคือสตรีบุรุษ
แต่ในสิ่งที่มีอยู่คือขันธ์เป็นต้นกลับไม่แล่นไปหา
(อ+วิ+ชุ+อ+อา, เหมือนวิ.ต้น)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

20 อวิคฺคห มาร

- นตฺถิ วิคฺคโห สรีรเมตสฺสาติ อวิคฺคโห
ผู้ไม่มีร่างปรากฏ
(น+วิคฺคห, แปลง น เป็น อ)

อ้างอิงแหล่งที่มา ศัพท์วิเคราะห์

หนังสือสวดมนต์ข้ามปี