Buy

วิชาธรรมวิภาคและคิหิปฏิบัติฉบับมาตรฐานชั้นตรี | ราคาปก 70 บาท/TH | isbn:9786162683923


วิชา ธรรมวิภาคและคิหิปฏิบัติ ฉบับมาตรฐานนี้  เป็นหนังสือที่ได้ยกเอาหัวข้อธรรมจากวิชา นวโกวาท ฉบับมาตรฐาน ซึ่งเป็นหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษา ชั้นตรี มาตั้ง แล้วเพิ่มคำอธิบายประกอบโดยสังเขป พอเหมาะแก่เนื้อหาและขอบข่ายของธรรมะหมวดนั้นๆ พร้อมทั้งรวบรวมเอาแนวคำถาม-คำตอบ ที่เคยออกสอบในสนามหลวงมาแสดงไว้ในตอนท้ายของทุกๆ หมวด ทั้งนี้เพื่อให้เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ครบวงจร ภายในเล่มเดียวกัน อันจะอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาและผู้สนใจยิ่งขึ้น

 

ในส่วนแห่งคำอธิบายนั้น ผู้รวบรวมได้ค้นจากหนังสืออธิบายธรรมะ หลายๆ เล่มที่ท่านบูรพาจารย์ได้เรียบเรียงไว้เป็นแบบอย่าง แล้วเลือกสรรเฉพาะใจความหรือประเด็นที่เป็นหลักสำคัญของธรรมะหมวดนั้นๆ มาผสมผสานให้สอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกัน ถูกต้องตรงตามคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ ทั้งนี้ เพราะการอธิบายธรรมะในพระพุทธศาสนานั้น ต้องยึดตามแนวมติของพระอรรถกถาจารย์เป็นสำคัญ มิฉะนั้นแล้ว อาจหลงประเด็นเข้ารกเข้าพง ผิดพุทธประสงค์ไปได้ อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้& nbsp;ปรากฏขึ้นมาในบรรณโลกได้นั้น ก็เพราะอาศัยท่านบูรพาจารย์ผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา ได้มีวิริยะอุตสาหะ ค้นคว้าอธิบาย ธรรมะเป็นแบบอย่างไว้แก่อนุชนรุ่นหลัง ซึ่งผู้รวบรวมขอน้อมจิตคารวะต่อท่านบูรพาจารย์เหล่านั้นเป็นอย่างสูงยิ่งไว้ ณ ที่นี้ด้วย

สำหรับในส่วนแนวคำถาม-คำตอบนั้น ได้รวบรวมมาแสดงไว้ ประจำท้ายหมวดของทุกๆ หมวด ก็เพื่อให้นักศึกษาได้รู้แนวคำถาม-คำตอบ ซึ่งจะทำให้มีความมั่นใจยิ่งขึ้นในเวลาสอบธรรมสนามหลวง


 

ธรรมวิภาค

ทุกะ คือ หมวด ๒

ติกะ คือ หมวด ๓

จตุกกะ คือ หมวด ๔

  • วุฑฒิ ๔ 
  • จักร ๔ 
  • อคติ ๔ 
  • อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ๔ ปธาน ๔ 
  • อธิษฐานธรรม ๔ 
  • อิทธิบาท ๔ 
  • ไม่ควรประมาทในการ ๔ อย่าง 
  • ปาริสุทธิศีล ๔ 
  • อารักขกัมมัฏฐาน ๔ 
  • พรหมวิหาร ๔ 
  • สติปัฏฐาน ๔ 
  • ธาตุกัมมัฏฐาน ๔ 
  • อริยสัจ ๔ 
  • แนวคำถาม-คำตอบ 

ปัญจกะ คือ หมวด ๕

  • อนันตริยกรรม ๕ 
  • อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ 
  • เวสารัชชกรณธรรม ๕ 
  • องค์แห่งภิกษุใหม่ ๕& nbsp;
  • องค์แห่งธรรมกถึก ๕ 
  • อานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๕ พละ ๕ 
  • นิวรณ์ ๕ 
  • ขันธ์ ๕ 
  • แนวคำถาม-คำตอบ 

ฉักกะ คือ หมวด ๖

  • คารวะ ๖ 
  • สาราณียธรรม ๖
  • อายตนะภายใน ๖
  • อายตนะภายนอก ๖
  • วิญญาณ ๖ 
  • สัมผัส ๖ 
  • เวทนา ๖ 
  • ธาตุ ๖ 
  • แนวคำถาม-คำตอบ& nbsp;

สัตตกะ คือ หมวด ๗

  • อปริหานิยธรรม ๗ 
  • อริยทรัพย์ ๗ 
  • สัปปุริสธรรม ๗ 
  • สัปปุริสธรรมอีก ๗ อย่าง โพชฌงค์ ๗ 
  • แนวคำถาม-คำตอบ 

อัฏฐกะ คือ หมวด ๘

  • โลกธรรม ๘ 
  • ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘
  • มรรค ๘ 
  • แนวคำถาม-คำตอบ 
  • นวกะ คือ หมวด ๙

    • มละ ๙ 
    • แนวคำถาม-คำตอบ 
    • ทสกะ คือ หมวด ๑๐

      • อกุศลกรรมบถ ๑๐ 
      • กุศลกรรมบถ ๑๐ 
      • บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ 
      • ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐
      • นาถกรณธรรม ๑๐ 
      • กถาวัตถุ ๑๐ 
      • อนุสสติ ๑๐ 
      • แนวคำถาม-คำตอบ 
      • ปกิณกะ คือ หมวดเบ็ดเตล็ด

        • อุปกิเลส ๑๖ 
        • โพธิปักขิยธรรม ๓๗
        • แนวคำถาม-คำตอบ 

        คิหิปฏิบัติ
        จตุกกะ คือ หมวด ๔

        • กรรมกิเลส ๔ 
        • อบายมุข ๔ 
        • ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔
        • สัมปรายิกัตถประโยชน์ ๔
        • มิตรเทียม ๔ 
          • คนปอกลอก มีลักษณะ ๔ 
          • คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔ 
          • คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔ 
          • คนชักชวนในทางฉิบหาย มีลักษณะ ๔& nbsp;
        • มิตรแท้ ๔ 
          • มิตรมีอุปการะ มีลักษณะ ๔ 
          • มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ ๔
          • มิตรแนะนำประโยชน์ มีลักษณะ ๔
          • มิตรมีความรักใคร่  มีลักษณะ ๔ 
        • สังคหวัตถุ ๔ 
        • สุขของคฤหัสถ์ ๔ 
        • ความปรารถนาที่สมหมายได้โดยยาก ๔
        • ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ๔ 
        • ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่นานไม่ได้ ๔
        • ฆราวาสธรรม ๔ 
        • แนวคำถาม-คำตอบ 
        • ปัญจกะ คือ หมวด ๕

          • ประโยชน์เกิดแต่การถือโภคทรัพย์ ๕
          • ศีล ๕ 
          • มิจฉาวณิชชา ๕ 
          • สมบัติของอุบาสก ๕ 
          • แนวคำถาม-คำตอบ 
          • ฉักกะ คือ หมวด ๖

            • ทิศ ๖ 
              • บุตรพึงบำรุงมารดาบิดาด้วยสถาน ๕
              • มารดาบิดาพึงอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕
              • ศิษย์พึงบำรุงอาจารย์ด้วยสถาน ๕ 
              • อาจารย์พึงอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕
              • สามีพึงบำรุงภรรยาด้วยสถาน ๕ 
              • ภรรยาพึงอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕
              • กุลบุตรพึงบำรุงมิตรด้วยสถาน ๕ 
              • มิตรพึงอนุเคราะห์มิตรด้วยสถาน ๕ 
              • นายพึงบำรุงบ้าวไพร่ด้วยสถาน ๕ 
              • บ่าวไพร่พึงอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ 
              • กุลบุตรพึงบำรุงสมณพราหมณ์ด้วยสถาน ๕ 
              • สมณพราหมณ์พึงอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ 
            • อบายมุข ๖ 
              • ๑. ดื่มน้ำเมามีโทษ ๖ 
              • ๒. เที่ยวกลางคืนมีโทษ ๖ 
              • ๓. เที่ยวดูการเล่นมีโทษ ๖ 
              • ๔. เล่นการพนันมีโทษ ๖ 
              • ๕. คนคนชั่วเป็นมิตรมีโทษ ๖
              • ๖. เกียจคร้านทำการงานมีโทษ ๖ 
            • แนวคำถาม-คำตอบ 
            • รายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียบเรียง 

             


             

            ธรรมวิภาค แปลว่า “การจำแนกธรรม, การแยกแยะธรรม,  การแจกแจงธรรม, ส่วนแห่งธรรม” ในที่นี้ถือตามนัยแห่งคำแปล ๓ นัยต้น ไม่ถือเอาตามคำแปลแห่งนัยท้าย คือ ที่แปลว่า “ ส่วนแห่งธรรม

            ธรรมวิภาค หมายถึงการจัดหัวข้อธรรม โดยจำแนกออกเป็น หมวดๆ เช่น ทุกะ คือ หมวด ๒, ติกะ คือ หมวด ๓ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้า, อธิบาย, ทำความเข้าใจเป็นหมวดจากน้อยไปหามาก

             

            ไม่มีอีบุ๊คตัวอย่าง

            Back

            ติดสอบถาม/สั่งซื้อ/สั่งพิมพ์แจก

            098-969 8985 062-198 9856 makeboon2018@gmail.com
            --- มีบริการพิมพ์ชื่อเจ้าภาพ จบครบวงจรเพื่อคุณลูกค้า ---

            บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

            105/95-96 ถ.ประชาอุทิศ ซ. 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7667 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ร้านหนังสือธรรมะ จำหน่ายหนังสือธรรมะ หนังสือบทสวดมนต์ หนังสือเรียนนักธรรม-บาลี ครบถ้วนมากที่สุด โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง รับพิมพ์หนังสือสวดมนต์ รับพิมพ์หนังสือธรรมะ โรงพิมพ์เก่าแก่กว่า 100 ปี บริการด้วยทีมงานมืออาชีพ ด้วยระบบออฟเซ็ทและดิจิตอล